Category Archives: จังหวัดชุมพร
จังหวัดชุมพร
จังหวัดชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้

ภูมิประเทศ[แก้]
จังหวัดชุมพรนับเป็นประตูสู่ภาคใต้ (เมื่อลงจากภาคกลาง) มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย ด้านใต้ติดกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางตะวันตกติดต่อกับอำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และส่วนหนึ่งติดกับประเทศพม่า
สภาพพื้นที่ทั่วไปมีภูเขาสูง มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา ในอำเภอเมืองชุมพร มีความยาว 33 กิโลเมตร แม่น้ำสวี ในอำเภอสวี มีความยาว 50 กิโลเมตร และ แม่น้ำหลังสวน ในอำเภอหลังสวน มีความยาว 100 กิโลเมตร แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่อ่าวไทย ในทะเลนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร มีเกาะน้อยใหญ่เกือบ 50 เกาะ
ภูมิอากาศ[แก้]
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรคล้ายกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ กล่าวคือ มีฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่น นั่นคือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมมรสุมพัดผ่าน ฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ จำนวน 8 อำเภอ ระดับตำบล จำนวน 70 ตำบล และระดับหมู่บ้าน จำนวน 674 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่ออำเภอ | อักษรโรมัน | จำนวนตำบล | จำนวนประชากร[4] |
---|---|---|---|---|
1. | เมืองชุมพร | Mueang Chumphon | 17 | 150,167 |
2. | ท่าแซะ | Tha Sae | 10 | 86,524 |
3. | ปะทิว | Pathio | 7 | 47,824 |
4. | หลังสวน | Lang Suan | 13 | 73,855 |
5. | ละแม | Lamae | 4 | 29,611 |
6. | พะโต๊ะ | Phato | 5 | 24,490 |
7. | สวี | Sawi | 11 | 73,215 |
8. | ทุ่งตะโก | Thung Tako | 6 | 25,618 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- หาดทรายรี
- เขามัทรี
- ศาลหลักเมืองชุมพร
- หาดทุ่งวัวแล่น
- เขาดินสอ
- แหลมแท่น
- อ่าวทุ่งซาง
- วัดพระธาตุถ้ำขวัญเมือง
- เขาเจ้าเมือง
- ถ้ำเขาเกรียบ
- อ่าวทุ่งไข่เน่า
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
- น้ำตกเหลวโหลม
- วนอุทยานน้ำตกกะเปาะ
- ศาลเจ้าพระยาชุมพร (พวย) หรือ ศาลเจ้าพ่อพวยดำ เชิงเขาถ้ำขุนกระทิง ค่ายขุนกระทิง
- วัดสุบรรณนิมิตรและ โรงเรียนอนุบาลเมืองชุมพรวัดสุบรรณนิมิตรสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2335
- วัดประเดิม
- ดอยตาปัง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพุทธรักษา (Canna indica)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
- อักษรย่อ: ชพ